HOME > วีซ่าผู้บริหารและการก่อตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาติ

経営管理ビザと外国人の会社設立
วีซ่าผู้บริหารและการก่อตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาติ

経営管理ビザと外国人の会社設立
วีซ่าผู้บริหารและการก่อตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาติ

当事務所で多い相談のパターンは4つです。

รูปแบบการปรึกษาที่ทางสำนักงานพบมากมี 4 แบบด้วยกัน

・母国で会社を経営していて、日本進出する

・บริหารกิจการบริษัทอยู่ที่ประเทศแม่และจะขยายมาที่ญี่ปุ่น

・日本でサラリーマンをしていて、独立起業をする

・เป็นพนักงานบริษัทอยู่ในญี่ปุ่น ต้องการแยกตัวออกมาเปิดกิจการ

・留学生が卒業後に起業する

・นักศึกษาต้องการเปิดกิจการหลังเรียนจบ

・海外に住んでいる外国人が日本が好きで、いきなり日本で起業する

・ชาวต่างชาติที่อยู่ต่างประเทศ ชอบประเทศญี่ปุ่น จึงมาเปิดกิจการในญี่ปุ่น

 

私の事務所に相談があるのはこの4つのパターンですね。

กรณีที่มาปรึกษาที่สำนักงานของเรามีอยู่ 4 แบบนี้

 

まず、外国人が日本で会社を作る時に考えてほしいのは、社長が経営管理ビザを取る必要があるのか、取らなくてもいいのかということです。

เรื่องแรกที่อยากให้ชาวต่างชาติคำนึงถึงในการมาตั้งบริษัทในญี่ปุ่นคือ ประธานบริษัทจำเป็นต้องขอวีซ่าผู้บริหารหรือไม่

 

経営管理ビザが必要ないという人は、資本金を1円にしてもいいし、どんな会社にしてもいいです。日本人が会社を作る時と同じようにしていいです。

ผู้ที่ไม่จำเป็นต้องขอวีซ่าผู้บริหารจะใช้เงินทุนแค่ 1 เยนก็ได้  จะตั้งบริษัทอย่างไรก็ได้ เหมือนกับเวลาที่คนญี่ปุ่นจะก่อตั้งบริษัท

 

でも経営管理ビザをとりたい外国人社長は、会社設立をする時にいろいろ考えなければなりません。経営管理ビザを取ることができるように考えて会社設立手続きをすることが必要ですね。もちろん資本金は1円の会社にしてはダメです。

แต่ประธานบริษัทชาวต่างชาติที่ต้องการขอวีซ่าผู้บริหารมีเรื่องที่ต้องคำนึงหลายอย่างในการก่อตั้งบริษัท อีกทั้งยังจำเป็นต้องคำนึงถึงขั้นตอนในการก่อตั้งบริษัทเพื่อให้สามารถขอวีซ่าผู้บริหารได้ และแน่นอนว่าจะตั้งบริษัทที่มีเงินทุนเพียง 1 เยนไม่ได้

 

経営管理ビザを取るための外国人の会社設立について説明したいと思います。

ต่อไปจะอธิบายเรื่องการก่อตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาติเพื่อขอวีซ่าผู้บริหาร

 

日本に住んでいる外国人が会社設立する場合と、海外に住んでいる外国人が会社設立する場合は手続きの方法が違います。

กรณีที่ชาวต่างชาติซึ่งอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นจะก่อตั้งบริษัทกับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศจะก่อตั้งบริษัทมีขั้นตอนที่แตกต่างกัน

 

日本に住んでいる外国人の会社設立の方が少し簡単で、海外に住んでいる外国人が会社設立する方が少し面倒です。

การก่อตั้งบริษัทของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นจะง่ายกว่า ส่วนการก่อตั้งบริษัทของชาวต่างชาติที่อยู่ในต่างประเทศจะยุ่งยากกว่าเล็กน้อย

 

まず最初は、日本に住んでいる外国人の会社設立について説明します。まず会社設立に必要な書類は、

ขั้นแรกจะขออธิบายเรื่องการก่อตั้งบริษัทของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นก่อน เริ่มจากเอกสารที่จำเป็นสำหรับการก่อตั้งบริษัทคือ

 

・印鑑証明書×2通

・ใบรับรองตราประทับ x 2 ฉบับ

 

これだけです。

เพียงเท่านี้

 

会社設立の全体の流れについて説明します。ต่อไปจะอธิบายถึงขั้นตอนโดยรวมของการก่อตั้งบริษัท

1 【定款】を作る จัดทำ “หนังสือบริคณห์สนธิ”

2 資本金を振り込む นำเงินทุนเข้าบัญชี

3 登記をする จดทะเบียน

 

この3ステップです。 มี 3 ขั้นตอนเท่านี้

 

まず、定款はどんな書類かですが、これは会社の名前、住所、資本金、取締役、事業目的、決算期などを決めた書類です。

เรื่องแรกคือหนังสือบริคณห์สนธิเป็นเอกสารแบบไหน เอกสารนี้ก็คือเอกสารที่ระบุชื่อ ที่อยู่ เงินลงทุน กรรมการผู้จัดการ วัตถุประสงค์ของกิจการ รอบปีบัญชีต่างๆ

 

まずはこれらを決めます。決めたら定款をPCで作り公証役場で「認証(公証)」してもらいます。

ขั้นแรกจะต้องกำหนดรายการเหล่านี้ก่อน หลังจากนั้นก็จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) แล้วนำไปให้หน่วยงานผู้รับรองเอกสารราชการทำการ “รับรอง (โดยทางราชการ)”

 

会社名や事業目的とかは考えて決めればいいのですが、ここで問題になるのは会社の住所です。

ชื่อบริษัทกับวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นสามารถคิดขึ้นเองได้ แต่ที่เป็นปัญหาก็คือที่อยู่ของบริษัท

 

まず会社の住所を決めなければなりません。ということは、会社の事務所を借りなければなりません。

ก่อนอื่นต้องกำหนดที่อยู่ของบริษัท หมายความว่าต้องเช่าสำนักงานของบริษัท

 

そこで2つ方法があります。

ซึ่งมี 2 วิธีด้วยกัน

1 会社事務所を借りて、事務所の住所で登記する

1  เช่าสำนักงานบริษัท ใช้ที่อยู่สำนักงานในการจดทะเบียน

2 会社事務所はまだ借りないで、自分の家や友達の家を会社住所として登記する

2 ยังไม่เช่าสำนักงานบริษัท ใช้บ้านของตนเองหรือของเพื่อนจดทะเบียนเป็นที่อยู่บริษัท

1番の方法がスムーズですが、2番の方法でもいいです。

วิธีที่ 1 จะราบรื่นกว่า แต่วิธีที่ 2 ก็ทำได้

 

自分の家や友達の家の住所でも会社の住所として登記できます。とりあえず先に会社を作っておきたいとか、会社事務所がなかなか見つからないけど会社を作りたい場合はそれでもいいです。

ที่อยู่ของบ้านตนเองหรือบ้านเพื่อนก็สามารถใช้จดทะเบียนเป็นที่อยู่บริษัทได้ จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่อยากตั้งบริษัทเอาไว้ก่อนหรืออยากตั้งบริษัทแต่ยังหาสำนักงานบริษัทไม่ได้ก็ได้

 

ただし、会社設立の時は自宅や友達の家を会社住所にしてもいいのですが、経営管理ビザは、それでは許可が下りないので、経営管理ビザ申請の前に住所を変更登記する必要がありますね。会社事務所借りた後に会社住所を変更します。その時のデメリットは住所変更登記に税金がかかることです。同じ区内の移動だと税金が3万円、別の区への移動は6万円かかります。

ในตอนที่ก่อตั้งบริษัทจะใช้บ้านของตนเองหรือบ้านเพื่อนเป็นที่อยู่ของบริษัทก็ได้ แต่จะขอวีซ่าผู้บริหารไม่ได้ ก่อนที่จะยื่นขอวีซ่าผู้บริหารจำเป็นต้องจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หลังจากเช่าสำนักงานบริษัทได้แล้วจึงทำการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ข้อเสียในเรื่องนี้ก็คือการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต้องเสียภาษี ถ้าเป็นการโยกย้ายภายในเขตเดียวกันจะเสียภาษี 3 หมื่นเยน ถ้าย้ายไปเขตอื่นจะต้องเสีย 6 หมื่นเยน

 

定款を作るために最初に決めなければならないのは、

สิ่งที่ต้องกำหนดในขั้นแรกเพื่อจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิคือ

 

1 会社の名前 ชื่อบริษัท

「株式会社」は、会社名の前か後につけられます。
例えばソニー株式会社とか株式会社ソニーとか、前か後ですね。自由に決められます。

คำว่า “บริษัทจำกัด” จะอยู่ที่ด้านหน้าหรือหลังของชื่อบริษัท
ตัวอย่างเช่นโซนี่ บริษัทจำกัด หรือบริษัทจำกัด โซนี่ เลือกได้เองว่าจะเอาไว้ที่ด้านหน้าหรือด้านหลัง .

2 会社住所 ที่อยู่บริษัท

会社住所については先ほど説明しました。

เรื่องที่อยู่บริษัทคือตามที่ได้อธิบายไปแล้ว

3 資本金額 ทุนจดทะเบียน

経営管理ビザを取るためにはビザを取りたい人が1人で500万円以上出資してください。1人で500万以上ですね。600万でも700万でもいいです。1人300万、もう1人200万で合計500万ではダメです。

ถ้าจะขอวีซ่าผู้บริหาร ขอให้ผู้ที่ต้องการขอวีซ่า 1 คนลงทุนเป็นเงิน 5 ล้านเยนขึ้นไป หมายถึง 1 คน 5 ล้านเยนขึ้นไป จะเป็น 6 หรือ 7 ล้านเยนก็ได้ แต่ถ้า 1 คน 3 ล้านเยน อีก 1 คน 2 ล้านเยนรวมเป็น 5 ล้านเยนจะขอไม่ได้

資本金についての考え方が間違っている人がよくいるのですが、この資本金は使っても大丈夫です。資本金の500万円は使っていいです。500万は日本政府に預けるお金ではありません。500万は事業をするためのお金ですので、減らしてはダメだと考えている人がいますが、違います。

มีบ่อยครั้งที่คนเข้าใจเรื่องเงินทุนจดทะเบียนผิด เงินทุนนี้สามารถนำไปใช้ได้ เงินทุนจดทะเบียน 5 ล้านเยนสามารถนำไปใช้ได้ ไม่ใช่การนำเงิน 5 ล้านเยนมาฝากไว้กับรัฐบาลญี่ปุ่น เงิน 5 ล้านเยนเป็นเงินเพื่อการดำเนินกิจการ แต่ก็มีหลายคนคิดว่าจะนำไปใช้ไม่ได้ซึ่งไม่ถูกต้อง

資本金が1000万円未満の会社は2年間、消費税が免除になりますので、999万円以下の資本金で会社を作る人が多いです。1000万だと消費税が2年間免除になりません。

บริษัทที่มีเงินทุนจดทะเบียนไม่ถึง 10 ล้านเยนจะได้รับการยกเว้นภาษีบริโภค 2 ปี จึงมีคนจำนวนมากจดทะเบียนบริษัทด้วยเงินทุนไม่เกิน 9,990,000 เยน เพราะถ้าเป็น 10 ล้านเยนจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีบริโภค 2 ปี

4 代表取締役と出資者が誰かを決めます。 กำหนดว่ากรรมการผู้จัดการและผู้ออกทุนเป็นใคร

代表取締役は、社長のことなのですが、普通は代表取締役と出資者(お金を出す人)が同じ場合が多いですね。代表取締役と出資者は分けることも可能です。

กรรมการผู้จัดการหมายถึงประธานบริษัท แต่ตามปกติส่วนใหญ่แล้วกรรมการผู้จัดการกับผู้ออกทุน (ผู้ออกเงิน) ก็คือคนเดียวกัน หรือกรรมการผู้จัดการกับผู้ออกทุนจะเป็นคนละคนกันก็ได้

5 取締役の任期 วาระของกรรมการ

2年~10年を選べます。

เลือกได้ 2-10 ปี

6 事業年度 ปีงบประมาณ

これは決算期をいつにするかですね。4月1日~3月末とか、1月1日~12月末とか、これは自由に決めていいです。

นั่นคือจะใช้ปีบัญชีอย่างไร เช่นตั้งแต่ 1 เม.ย. ถึงสิ้นเดือน มี.ค. หรือ 1 ม.ค. ถึงสิ้นเดือน ธ.ค. ซึ่งสามารถกำหนดได้ตามต้องการ

7  事業目的 วัตถุประสงค์ของกิจการ

目的はいろいろ書き込めます。どんなビジネスをするのかについて事業目的を書きます。今はやらないけど、将来やるつもりのビジネスについても記入しておいた方がいいですね。重要なのは営業の許認可を取らなければならないかどうかですね、古物商とか旅行業とか不動産業をやる場合は営業許可をとるために目的に入れておかなければなりません。

目的はいろいろ書き込めます。どんなビジネスをするのかについて事業目的を書きます。今はやらないけど、将来やるつもりのビジネスについても記入しておいた方がいいですね。重要なのは営業の許認可を取らなければならないかどうかですね、古物商とか旅行業とか不動産業をやる場合は営業許可をとるために目的に入れておかなければなりません。

วัตถุประสงค์สามารถเขียนได้หลายอย่าง ให้เขียนวัตถุประสงค์ว่าจะประกอบธุรกิจแบบใด แม้จะเป็นธุรกิจที่ตอนนี้ยังไม่ทำแต่ตั้งใจจะทำในอนาคตก็ควรเขียนเอาไว้ด้วย สิ่งสำคัญคือจำเป็นจะต้องขอใบอนุญาตประกอบการหรือไม่ ในกรณีที่จะทำธุรกิจขายของเก่า การท่องเที่ยว หรืออสังหาริมทรัพย์จะต้องใส่ไว้ในวัตถุประสงค์ด้วยเพื่อนำไปขอใบอนุญาตประกอบการ

これを全て決めたら、公証役場に持って行って公証してもらいます。公証する時に公証役場で5万円+謄本代実費が必要です。公証は1日で終わります。公証役場に5万円払います。

เมื่อกำหนดทั้งหมดนี้แล้วให้นำเอกสารไปให้ผู้รับรองเอกสารของทางราชการทำการรับรอง ในการรับรองเอกสารจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 5 หมื่นเยน+ค่าสำเนาเอกสารตามจริง การรับรองเอกสารใช้เวลา 1 วัน และต้องชำระเงิน 5 หมื่นเยนให้กับสำนักงานผู้รับรองเอกสาร

定款が公証できたら、次は資本金を振込みます。

เมื่อหนังสือบริคณห์สนธิได้รับการรับรองแล้ว ต่อไปก็ต้องนำเงินทุนเข้าบัญชี

個人の口座に振り込みます。個人の口座です。会社はまだできていませんので、会社の銀行口座はもちろんないですね。会社の銀行口座は会社設立後に作れます。

โดยนำเข้าบัญชีส่วนบุคคล บัญชีของบุคคลธรรมดา บริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนจึงแน่นอนว่าไม่มีบัญชีธนาคารของบริษัท บัญชีธนาคารของบริษัทจะทำได้หลังจากจดทะเบียนบริษัท.

個人の口座に資本金を振込ます。出資者の名前が記帳されるようにです。誰がいくら振り込んだかわかるようにです。

ให้นำเงินทุนเข้าบัญชีบุคคลธรรมดา โดยให้มีชื่อผู้ออกทุนระบุอยู่ในบัญชี เพื่อให้ทราบว่าใครโอนเงินมาเท่าใด

それで通帳をコピーして、コピーと払込証明書を付けます。かならず振込は定款公証の後にします。定款を公証する前に振り込んでも無効ですので注意してください。

จากนั้นก็ถ่ายสำเนาสมุดบัญชี แนบสำเนาสมุดบัญชีไปกับใบรายละเอียดการโอนเงิน การโอนเงินจะต้องทำหลังจากหนังสือบริคณห์สนธิได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น ถ้าโอนเงินเข้ามาก่อนที่หนังสือบริคณห์สนธิจะผ่านการรับรองจะถือว่าใช้ไม่ได้ กรุณาระมัดระวัง

最後は登記申請です。

สุดท้ายคือการยื่นคำร้องขอจดทะเบียน

登記申請書を作って、公証した定款と資本金の証明書と一緒に法務局に申請します。

ต้องจัดทำใบคำร้องขอจดทะเบียนและนำไปยื่นที่สำนักนิติการพร้อมกับหนังสือบริคณห์สนธิที่รับรองแล้วและใบรายละเอียดเรื่องเงินทุน

法務局に申請してから1週間前後で登記完了です。
登記完了まで1週間前後かかりますが、会社設立日は申請日になります。

หลังจากยื่นคำร้องที่สำนักนิติการแล้วประมาณ 1 สัปดาห์การจดทะเบียนก็จะเสร็จสิ้น ต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์กว่าจะจดทะเบียนได้ แต่วันที่จดทะเบียนคือวันที่ยื่นคำร้อง

会社設立は準備をスタートしてから全部完了するまで約3週間から4週間と考えてください。ここまでは、日本に居住している外国人の会社設立方法の説明でしたが、次に海外に住んでいる外国人の会社設立について説明します。

ใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 4 สัปดาห์สำหรับการจดทะเบียนบริษัทตั้งแต่เริ่มเตรียมการไปจนถึงเสร็จสิ้นทุกอย่าง ที่อธิบายไปทั้งหมดนี้คือวิธีก่อตั้งบริษัทของชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น

ต่อไปจะอธิบายเรื่องการจดทะเบียนบริษัทของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ

まず、会社設立手続きの基本原則として日本の個人の銀行口座が必要です。銀行口座をもっていない場合は、資本金を振り込むことができませんので、必ず日本に協力者が必要です。

ก่อนอื่นจำเป็นจะต้องมีบัญชีธนาคารส่วนบุคคลในญี่ปุ่นซึ่งเป็นข้อกำหนดพื้นฐานของขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท ในกรณีที่ไม่มีบัญชีธนาคาร จะโอนเงินทุนเข้าบัญชีไม่ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีผู้ร่วมมืออยู่ในญี่ปุ่น

留学生が卒業後に会社を作ったり、会社員が会社を辞めて会社を作る場合は日本に住所がありますから日本の銀行口座も持っていると思いますので問題ないです。

ในกรณีที่นักศึกษาก่อตั้งบริษัทหลังเรียนจบหรือพนักงานบริษัทออกจากบริษัทมาเปิดบริษัท เชื่อว่าน่าจะมีบัญชีของธนาคารญี่ปุ่นอยู่แล้วเพราะมีที่อยู่ในญี่ปุ่นจึงไม่มีปัญห

でも海外に住んでいる外国人は日本に住所がありませんので、日本の銀行は口座開設を認めません。そうなれば単独では会社設立を進めることができません。短期滞在で日本に来ても銀行口座は開設できません。

แต่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศที่ไม่มีที่อยู่ในญี่ปุ่น ธนาคารญี่ปุ่นจะไม่ยอมให้เปิดบัญชี การจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเองตามลำพังจึงไม่สามารถทำได้ อีกทั้งการอยู่ญี่ปุ่นในช่วงเวลาสั้นๆ ก็ไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้

ですので、海外に居住している外国人が日本で会社を作るためには、誰かに協力してもらう必要があります。

ดังนั้นการที่ชาวต่างชาติซึ่งอยู่ในต่างประเทศจะจดทะเบียนบริษัทในญี่ปุ่นได้จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือกับใครบางคน

知り合い、友達でもいいですが、少しの期間だけ取締役になってもらいます。最初だけです。経営管理ビザをもらったら取締役をやめます。協力者は日本人、ベトナム人どちらでも大丈夫です。

จะเป็นคนรู้จักหรือเพื่อนก็ได้ แต่ต้องขอให้เขามาเป็นกรรมการผู้จัดการในช่วงแรกๆ ก่อน เมื่อได้วีซ่าผู้บริหารแล้วก็เลิกเป็นได้ ผู้ร่วมมือจะเป็นคนญี่ปุ่นหรือคนไทยก็ได้

 

次は会社設立の「後」の手続きについてです。無事、会社設立が終わったら経営管理ビザの申請です。会社設立が終わった後もいろいろ手続きが必要です。まず、経営管理ビザの申請は会社設立の前にはできません。必ず会社設立が完了してからビザ申請です。

ต่อไปคือขั้นตอน “หลัง” จดทะเบียนบริษัท เมื่อจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทได้เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็คือการยื่นขอวีซ่าผู้บริหาร หลังจากจดทะเบียนบริษัทเสร็จแล้วยังมีขั้นตอนต่างๆ อีกมาก เรื่องแรกคือการยื่นขอวีซ่าผู้บริหารไม่สามารถทำได้ก่อนจดทะเบียนบริษัท จะต้องขอวีซ่าหลังจดทะเบียนบริษัทเสร็จแล้วเท่านั้น

 

会社設立→設立後の手続き(営業許可・税金)→経営管理ビザ申請の流れになります。

ขั้นตอนมีดังนี้คือ
ก่อตั้งบริษัท→ ขั้นตอนหลังจดทะเบียน (ใบอนุญาตประกอบการ/ภาษี) → ยื่นขอวีซ่าผู้บริหาร

 

・営業許認可の申請 ยื่นขอใบอนุญาตประกอบการ

・税務署への手続き ขั้นตอนที่สรรพากร


まず営業許認可ですね。ビジネスをするために許可が必要かどうか、会社設立する前に事前に調べます。許可が必要じゃないビジネスをする場合は何も申請しなくて大丈夫です。

เริ่มจากใบอนุญาตประกอบการจะต้องตรวจสอบไว้ก่อนที่จะจดทะเบียนบริษัทว่าธุรกิจที่จะทำจำเป็นต้องมีใบอนุญาตหรือไม่ ในกรณีที่ประกอบธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตก็ไม่ต้องยื่นขอ

 

許可が必要なビジネスは例えば ตัวอย่างธุรกิจที่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต

 

・飲食業 ร้านอาหาร
・古物・リサイクル ของเก่า/ของรีไซเคิล
・旅行業 ท่องเที่ยว
・人材派遣・紹介 จัดหา/แนะนำบุคลากร
・不動産業 อสังหาริมทรัพย์
・建設業 ก่อสร้าง


などです。他にもたくさんあります。 เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีก


自分のビジネスに許可が必要かどうかは必ず調べなければなりませんね。
会社設立が終わったら営業許可の申請をします。

จะต้องตรวจสอบว่าธุรกิจของตนเองจำเป็นต้องมีใบอนุญาตหรือไม่
มื่อก่อตั้งบริษัทเสร็จแล้วจึงค่อยยื่นขอใบอนุญาตประกอบการ

 

次は税金関係です。 ต่อไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษี

税金関係は เรื่องเกี่ยวกับภาษีก็เช่น

・法人設立届とか給与支払事務所設置届とかなどですね。
税金関係の届出は必須です。税務署に申請します。

・แจ้งการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือใบแจ้งการจัดตั้งสำนักงานที่มีการจ่ายเงินเดือน
จำเป็นต้องส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีโดยยื่นเรื่องกับสรรพากร


営業許認可手続きと税金の手続きが終わってから、経営管理ビザの申請ができます。営業許認可と税務署への届出手続きはビザの申請前に必要です。社会保険の手続きは後でもいいです。

เมื่อดำเนินขั้นตอนในการขอใบอนุญาตประกอบการและภาษีเสร็จแล้วจึงจะสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่าผู้บริหารได้ ใบอนุญาตประกอบการและการยื่นเอกสารต่อสรรพากรจำเป็นต้องทำก่อนยื่นขอวีซ่า ส่วนขั้นตอนเรื่องประกันสังคมเอาไว้ภายหลังก็ได้

次は経営管理ビザをとるための条件について説明したいと思います。

ต่อไปจะอธิบายเรื่องเงื่อนไขในการขอวีซ่าผู้บริหาร

経営管理ビザは簡単にいうと、「会社が合法、適法なもの」+「安定性、継続性」が問われ、普通の就労ビザより厳しい条件があります。

วีซ่าผู้บริหารพูดง่ายๆ ก็คือจะมีเงื่อนไขที่เข้มงวดกว่าวีซ่าทำงานตามปกติเพราะจะถูกสอบถามในเรื่อง “บริษัทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” + “ความมั่นคง ความต่อเนื่อง”

ですので、経営管理ビザの手続や書類作成は他の就労ビザより大変ですし、少しのことで不許可になる可能性もあります。

ขั้นตอนและการจัดทำเอกสารเพื่อยื่นขอวีซ่าผู้บริหารนั้นจะยุ่งยากกว่าวีซ่าทำงาน ด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ถูกปฏิเสธได้

経営管理ビザは会社設立したり、事務所を借りたり、営業許認可・税務署の手続きをしてから申請を行いますので、失敗した場合は、大きな損になってしまいます。経営管理ビザの条件は会社を作る前から計画的に考えておかなければなりません。

วีซ่าผู้บริหารจะยื่นขอได้หลังจากจดทะเบียนบริษัท เช่าสำนักงาน ได้ใบอนุญาตประกอบการ และดำเนินขั้นตอนที่สรรพากรแล้ว ในกรณีที่ไม่ได้ก็จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก จึงจำเป็นที่จะคำนึงถึงเงื่อนไขในการขอวีซ่าผู้บริหารไว้ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัท

ビジネスはどんな種類のビジネスでもOKです。ただし、事業の継続性・安定性が立証できるだけの内容が必要となります。

ธุรกิจจะเป็นธุรกิจชนิดใดก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีรายละเอียดที่สามารถเป็นหลักประกันได้ถึงความต่อเนื่องและความมั่นคงของกิจการ

そして、この「経営管理ビザ」をとるためには、次の条件が必要です。

นอกจากนี้ในการขอ “วีซ่าผู้บริหาร” ยังมีเงื่อนไขดังนี้

経営管理ビザの条件
เงื่อนไขของวีซ่าผู้บริหาร

・事業を営むための事務所、店舗が日本に確保されていること

・มีสำนักงานและร้านค้าในญี่ปุ่นสำหรับการประกอบกิจการ

・経営者以外に2人以上の日本に居住する者(日本人、永住者、日本人の配偶者等、永住者の配偶者等、定住者)で、常勤の職員が従事して営まれる【規模】のものであること

・“ขนาด” ของกิจการคือนอกจากผู้บริหารแล้วยังต้องประกอบไปด้วยพนักงานประจำซึ่งเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในญี่ปุ่น (คนญี่ปุ่น, ผู้พำนักถาวร, คู่สมรสชาวญี่ปุ่น, คู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร, ผู้พำนักระยะยาว) 2 คนขึ้นไป


この「2人以上の社員の雇用」についてですが、2人以上の社員の雇用がなくても、「新規事業を開始する場合の投資額が年間500万円以上ある」場合は許可になります。規模があると判断してもらえます。最初から社員を2名雇うのは難しいと思いますので、500万用意して会社を作るのが普通です。500万出資すれば1人社長でもOKです。そして資金金の出どころが問われます。入国管理局の審査で500万円はどうやって準備したのですか?と聞かれます。資金源はちゃんと説明できるように準備が必要です。

สำหรับเรื่อง “การจ้างพนักงานอย่างน้อย 2 คน” นี้ ถึงแม้จะไม่ได้จ้างพนักงาน 2 คน แต่ “กรณีที่เริ่มกิจการใหม่ต้องมีเงินลงทุนต่อปีอย่างน้อย 5 ล้านเยน” ก็จะได้รับอนุญาต คือจะได้รับการประเมินว่ามีขนาดใหญ่เพียงพอ การจ้างพนักงาน 2 คนตั้งแต่ต้นเป็นเรื่องยาก ตามปกติจึงมักเตรียมเงิน 5 ล้านเยนเพื่อใช้ก่อตั้งบริษัท ถ้าออกทุน 5 ล้านเยนจะมีประธานเพียงคนเดียวก็ได้ จากนั้นก็จะเป็นการสอบถามในเรื่องแหล่งที่มาของเงินทุน ในการตรวจสอบสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะถามว่าหาเงิน 5 ล้านเยนมาได้อย่างไร จึงจำเป็นต้องเตรียมการเพื่อให้สามารถอธิบายที่มาของเงินทุนได้เป็นอย่างดี

 

下記の事項も条件になります。

นอกจากนี้ก็ยังมีเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้

 

・必要な営業許可を取得済みであること(飲食店営業許可、古物商、その他)

・ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบการที่จำเป็นแล้ว (ใบอนุญาตประกอบการร้านอาหาร ขายของเก่า และอื่นๆ)

・必要な税金関係書類を申請済みであること

・ยื่นเอกสารเกี่ยวกับภาษีที่จำเป็นแล้ว

・事業の安定性・継続性を説明した事業計画書を作成すること

・จัดทำแผนธุรกิจที่อธิบายได้ถึงความมั่นคงและความต่อเนื่องของกิจการ

 

経営管理ビザは立証資料のそろえ方、資料の説明の仕方が非常に難しく、難易度の高いビザです。間違っても自分でできるとは考えないことをお勧めします。

การขอวีซ่าผู้บริหารเป็นวีซ่าที่ขอได้ยากมากทั้งในด้านวิธีการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานและวิธีอธิบายเอกสาร เราจึงขอแนะนำว่าไม่ควรดำเนินการเรื่องนี้เอง

 

経営管理ビザが不許可になると会社を経営できませんので、絶対に失敗してはいけないビザです。

ถ้าไม่ได้วีซ่าผู้บริหารก็จะไม่สามารถบริหารกิจการได้ วีซ่าชนิดนี้จึงทำผิดพลาดไม่ได้เลย

 

経営管理ビザは最初は1年で許可をもらえるのが普通です。最初から3年はもらえません。

วีซ่าผู้บริหารตามปกติครั้งแรกจะได้รับเป็นเวลา 1 ปี จะไม่ได้รับ 3 ปีทันทีในครั้งแรก

いかがでしたでしょうか?

คุณคิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง?

 

当事務所では会社設立と経営管理ビザ、会計、社会保険、契約書作成などもトータルにサポート可能ですので、ぜひ1度ご相談ください。

สำนักงานของเราสามารถช่วยเหลือคุณได้ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนบริษัท การขอวีซ่าผู้บริหาร การทำบัญชี ประกันสังคม และการจัดทำสัญญาต่างๆ ลองมาปรึกษาเราสักครั้ง

無料相談

ให้คำปรึกษาฟรี

ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับการยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือยื่นขอวีซ่า ขอแนะนำให้คุณลองมาปรึกษากับผู้รับรองเอกสารที่รู้เรื่องการยื่นขอวีซ่าโดยละเอียดดูก่อน การขอรับคำปรึกษาแต่เนิ่นๆ เป็นหัวใจสำคัญของการขอวีซ่าให้ผ่าน

สำนักงานกฎหมาย Samurai ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่า เราจะหาวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของลูกค้าแต่ละรายและให้คำแนะนำไปตลอดเส้นทางจนกว่าจะได้รับวีซ่า

เราให้คำปรึกษาฟรี ลองมาปรึกษาเราสักครั้ง *การขอรับคำปรึกษาต้องจองล่วงหน้าเท่านั้น

電話で相談の申込みをする

ขอรับคำปรึกษาทางโทรศัพท์

Tokyo area: 03-5830-7919

Nagoya area: 052-446-5087

Osaka area: 06-6341-7260

受付時間内にご予約を頂ければ、夜間・土日もご相談を承ります。
受付時間:平日 9時~20時 / 土日 9時~18時 ※祝日,国民の休日,12月30日~1月3日は除く。

ถ้าจองภายในเวลาให้บริการ สามารถมาปรึกษาได้ทั้งตอนกลางคืนและวันเสาร์อาทิตย์ เวลาให้บริการ : วันธรรมดา 9:00-20:00 น. / วันเสาร์และอาทิตย์ 9.00-18.00 น. *ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดราชการ วันที่ 30 ธันวาคมถึง 3 มกราคม

Form Đăng kí qua mạng Internet